top of page

Observatory

จำหน่ายสมาร์ทคลาสรูมและอุปกรณ์ด้านดาราศาสตร์ครบวงจร

Telescope

กล้องดูดาว

BUY
NOW

Planetarium

ท้องฟ้าจำลอง

BUY
NOW

Observatory

หอดูดาว

BUY
NOW

Observatory

          หอดูดาว เป็นสถานที่สำหรับใช้สังเกตการณ์ท้องฟ้าและดวงดาว ในการศึกษาด้าน ดาราศาสตร์* หอดูดาวทางดาราศาสตร์ในปัจจุบันมักก่อสร้างเป็นอาคารรูปโดมมีช่องเปิด ภายในมีกล้องโทรทรรศน์** เพื่อใช้ขยายภาพท้องฟ้า สาเหตุที่ใช้อาคารมีช่องเปิด ก็เพื่อลดแสงรบกวนจากภายนอก ส่วนอาคารรูปโดมนั้นเหมาะกับประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น ในฤดูหนาวจะไม่มีหิมะค้างอยู่บนหลังคา อาคารโดมอาจติดตั้งกลไกการหมุนเพื่อติดตามดาว

          

          ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ

          กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน์

         ดาราศาสตร์นับเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่ง เพราะนับตั้งแต่มีมนุษย์อยู่บนโลก เขาย่อมได้เห็นได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเสมอมา แล้วก็เริ่มสังเกตจดจำและเล่าต่อ ๆ กัน เช่น เมื่อมองออกไปรอบตัวเห็นพื้นดินราบ ดูออกไปไกล ๆ ก็ยังเห็นว่าพื้นผิวของโลกแบน จึงคิดกันว่าโลกแบน มองฟ้าเห็นโค้งคล้ายฝาชีหรือโดม มีดาวให้เห็นเคลื่อนข้ามศีรษะไปทุกคืน กลางวันมีลูกกลมแสงจ้า ให้แสง สี ความร้อน ซึ่งก็คือ ดวงอาทิตย์ ที่เคลื่อนขึ้นมาแล้วก็ลับขอบฟ้าไป ดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญกับเรามาก

          การศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรก ๆ เป็นการเฝ้าดูและคาดเดาการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก่อนยุคสมัยที่กล้องโทรทรรศน์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น มีสิ่งปลูกสร้างโบราณหลายแห่งที่เชื่อว่าเป็นสถานที่สำหรับการเฝ้าศึกษาทางดาราศาสตร์ เช่น สโตนเฮนจ์ นอกจากนี้การเฝ้าศึกษาดวงดาวยังมีความสำคัญต่อพิธีกรรม ความเชื่อ และเป็นการบ่งบอกถึงการเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อสังคมเกษตรกรรมการเพาะปลูก รวมถึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงระยะเวลา วัน เดือน ปี

          เมื่อสังคมมีวิวัฒนาการขึ้นในดินแดนต่าง ๆ การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ก็ซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เมโสโปเตเมีย กรีก จีน อียิปต์ อินเดีย และ มายา เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของธรรมชาติแห่งจักรวาลกว้างขวางขึ้น ผลการศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรก ๆ จะเป็นการบันทึกแผนที่ตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ อันเป็นศาสตร์ที่ปัจจุบันเรียกกันว่า การวัดตำแหน่งดาว (astrometry) ผลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่าง ๆ เริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้น ธรรมชาติการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก นำไปสู่แนวคิดเชิงปรัชญาเพื่อพยายามอธิบายปรากฏการณ์เหล่านั้น ความเชื่อดั้งเดิมคือโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่าง ๆ เคลื่อนที่ไปโดยรอบ แนวคิดนี้เรียกว่า แบบจำลองแบบโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล (geocentric model)

          มีการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่สำคัญไม่มากนักก่อนการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ตัวอย่างการค้นพบเช่น ชาวจีนสามารถประเมินความเอียงของแกนโลกได้ประมาณหนึ่งพันปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนค้นพบว่าปรากฏการณ์จันทรคราสจะเกิดขึ้นซ้ำเป็นช่วงเวลา เรียกว่า วงรอบซารอส และช่วงสองร้อยปีก่อนคริสตกาล ฮิปปาร์คัส นักดาราศาสตร์ชาวกรีก สามารถคำนวณขนาดและระยะห่างของดวงจันทร์ได้ตลอดช่วงยุคกลาง การค้นพบทางดาราศาสตร์ในยุโรปกลางมีน้อยมากจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่มีการค้นพบใหม่ ๆ มากมายในโลกอาหรับและภูมิภาคอื่นของโลก มีนักดาราศาสตร์ชาวอาหรับหลายคนที่มีชื่อเสียงและสร้างผลงานสำคัญแก่วิทยาการด้านนี้ เช่น Al-Battani และ Thebit รวมถึงคนอื่น ๆ ที่ค้นพบและตั้งชื่อให้แก่ดวงดาวด้วยภาษาอารบิก ชื่อดวงดาวเหล่านี้ยังคงมีที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

หอดูดาวที่สำคัญในต่างประเทศ

  • หอดูดาวลาซียา ชิลี

  • เดอะบิ๊กเอียร์ สหรัฐอเมริกา

  • หอดูดาวอาเรซีโบ เปอร์โตริโก (สหรัฐอเมริกา)

  • หอดูดาวแมกดาลีนาริดจ์ สหรัฐอเมริกา

  • หอดูดาวลิก สหรัฐอเมริกา

  • Very Large Array สหรัฐอเมริกา

  • Very Long Baseline Array สหรัฐอเมริกา

  • หอดูดาวหลวงกรีนิช สหราชอาณาจักร

หอดูดาวในประเทศไทย

  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ 7 รอบพระชนมพรรษา เชียงใหม่

  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

  • หอดูดาวสิรินธร ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่

  • หอดูดาวกองทัพเรือ สมุทรปราการ

  • หอดูดาวมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อยู่ที่เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร ชัยภูมิ

  • หอดูดาวมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา นครศรีธรรมราช

  • หอดูดาวสุริยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

  • หอดูดาวศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต อำเภอธัญบุรี ปทุมธานี

  • หอดูดาวอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ อำเภอเมือง ประจวบคีรีขันธ์

โครงการก่อสร้าง หอดูดาวในประเทศไทย

  • หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ:

  • เครือข่ายภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน - หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

  • เครือข่ายภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก - หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน ฉะเชิงเทรา อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา

  • เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน - หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

  • เครือข่ายภาคใต้ - หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน สงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

  • ศูนย์ดาราศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ โดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.):

  • ศูนย์ดาราศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง

  • ศูนย์ดาราศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา

  • ศูนย์ดาราศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ ภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  • ศูนย์ดาราศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช

          

celestron-logo.jpg
MeadeLogoMagento.jpg
booklogo.png
vixen.jpg
Takahashi_Logo_200_idx82164905.png
lunt_logo531196.png
PA01285203.png
logo-r2.png
logo.png

AIR MENTOR

aaaa.png
messageImage_1545026877843.jpg

Contact

 

Line : @astrocoth

Email : astro@astro.co.th

Tel. : 66(8) 1812-9741

Fax : 66(0) 2891-0651  

About Us  

ASTRO INSTRUMENTS CO., LTD.

บริษัท แอสโตร อินสตรูเมนท์ จำกัด

833 Issaraphap Rd.,Watarun , Bangkokyai

Bangkok 10600 Thailand .

833 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่

กรุงเทพมหานคร 10600

  Product All  

  • Telescopes

  • Planetarium

  • Observatory

  • Smart Classroom

  • Gadgets

  Editorial  

  • Astronomy

  • Smart Classroom

bottom of page